การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารคืออะไร เหมาะกับใครและการเตรียมตัว?

การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร ข้อบ่งชี้และอาการที่เป็น

     ความผิดปกติเบื้องต้นเกี่ยวกับ โรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้ อาจไม่ได้แสดงอาการให้เห็นชัดเจนตั้งแต่แรก แถมอาการทั้งหลายยังมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ถึงแม้บทสรุปจะออกมาเป็นโรคที่ต่างกันแต่ การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร คือการป้องกันเบื้องต้นที่ดีที่สุด

1. ทำไมต้องส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร?
2. ข้อบ่งชี้ในการตรวจเช็คระบบทางเดินอาหาร
3. การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
   3.1. การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนโดยการส่องกล้อง (Gastroscopy)
        3.1.1. การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
        3.1.2. ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ
   3.2. การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนล่างโดยการส่องกล้อง (colonoscopy)
        3.2.1. การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
        3.2.2. ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ

1. ทำไมต้องส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร?

     หลายคนคิดว่าอาการปวดท้องเป็นผลจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือรับประทานอาหารรสจัดเท่านั้น หากรักษาไม่ถูกต้อง อย่างมากก็ทำให้อาการปวดท้องรุนแรงขึ้น โดยไม่ทำให้เกิดเนื้อร้ายใดๆ แต่ในปัจจุบัน ความเชื่อนั้นอาจไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะสาเหตุของอาการปวดท้อง อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร  ถือเป็นการดูแลเบื้องต้น อันดับแรก และไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย เอชไพโลไร (H.pylori) ซึ่งองค์การอนามัยโรค หรือ WHO จัดให้แบคทีเรียชนิดนี้เป็นเชื้อก่อมะเร็ง หรือ Carcinogen ชนิดหนึ่ง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระเพาะอาหาร อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในอนาคตได้เช่นกัน ภาวะเสี่ยงเหล่านี้หากการ ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ตรวจพบในระยะเริ่มต้น จะสามารถรับประทานยาเพื่อรักษาจนหายและเป็นปกติได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือให้ยาเคมีบำบัดใดๆ โดยส่วนใหญ่ของมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นเกิดมาจากติ่งเนื้อขนาดเล็กมาก่อนและขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นมะเร็งลำไส้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร นั้นสามารถตัดติ่งเนื้อขนาดเล็กก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งในอนาคตได้ โดยการตัดติ่งเนื้อผ่านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร นั้นมีความปลอดภัยเป็นอย่างมาก

2. ข้อบ่งชี้ในการตรวจเช็คระบบทางเดินอาหาร?

      ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป หรืออายุมากกว่า 40 ปีที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ หรือติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ และกลุ่มผู้ที่มีอาการดังนี้ ควรได้รับการ ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

– มีอาการปวดท้อง ท้องอืด

– น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

– อาเจียนเป็นเลือด

– ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

– ท้องเสียสลับท้องผูก

3. การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน?

การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร Gastriscopy ข้อบ่งชี้และอาการที่เป็น

3.1. การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนโดยการส่องกล้อง (Gastroscopy) เป็นการส่องกล้องผ่านเข้าทางปากเพื่อตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ใช้ระยะเวลาตรวจประมาณ 15 นาที

3.1.1. การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

       – งดน้ำและอาหารทุกชนิดก่อนตรวจ 6-8 ชั่วโมง

3.1.2. ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

       – ก่อนเริ่ม ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร จะได้รับการพ่นยาชาที่บริเวณคอ และผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย
       – แพทย์ให้ยานอนหลับ และเริ่มใส่กล้องเข้าทางปากผ่านลำคอไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
       – เก็บชิ้นเนื้อออกมาตรวจเพื่อหาแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
       – หลังส่องกล้องผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่ห้องพักฟื้น 1-2 ชั่วโมง จนตื่นดีและฟังผลการส่องกล้องได้ภายในวันนั้นๆ
       – หยุดพัก ลางาน วันที่มารับการตรวจ 1 วัน
       – หลังตรวจรับประทานอาหารได้ตามปกติ

การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร Colonoscopy ข้อบ่งชี้และอาการที่เป็น

3.2. การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนล่างโดยการส่องกล้อง (colonoscopy) ใช้กล้องแบบอ่อนใส่เข้าทางทวารขึ้นไปจนถึงลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ใช้ระยะเวลาการตรวจประมาณ 30 นาที

3.2.1. การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ระบบทางเดินอาหาร

       – รับประทานอาหารที่มีกากน้อย 2 วันก่อนตรวจ เช่น น้ำซุป โจ๊ก และงดรับประทานผักผลไม้ต่างๆ

       – รับประทานยาระบายตามคำสั่งแพทย์ โดยรับประทานยาจนหมดและถ่ายหลายครั้งจนเป็นน้ำใส ก่อนเที่ยงคืนสามารถรับ
          ประทานอาหารที่เป็นน้ำใสได้ เช่น น้ำเปล่า ซุปใส น้ำผลไม้ไม่มีกาก

       – งดน้ำและอาหารทุกชนิดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ

       – จำเป็นต้องมีผู้ดูแลมาด้วยในวันที่รับการ ส่องกล้อง เนื่องจากมีให้ยานอนหลับผู้ป่วยขณะ ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

3.2.2. ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ ระบบทางเดินอาหาร

        – ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายงอเข่าชิดหน้าอก

        – แพทย์ให้ยานอนหลับ จากนั้นใส่กล้องทางทวารหนักเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่

        – หากพบความผิดปกติหรือรอยโรค แพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติม และสามารถตัดเนื้องอกขนาดเล็ก 
          เพื่อรักษาด้วยการ ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารได้

        – หลัง ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลต่อที่ห้องพักฟื้น จนตื่นดีและรอฟังผลการส่องกล้องระบบทาง
          เดินอาหาร ได้ในวันนั้น

สนใจใช้ สิทธิประกันสังคม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

นายแพทย์อัครวินท์ ศิริมงคล ศัลยแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สมัครรับข่าวสาร

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security