สัญญาณเตือน มะเร็งเต้านม ไม่อยากเสี่ยงควรรู้วิธีป้องกัน พร้อมวิธีการรักษา

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม 

‘มะเร็งเต้านม’ คือโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้หญิงเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และในช่วงแรกมักจะตรวจพบได้ยากเนื่องจากไม่แสดงอาการ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจึงมีความสำคัญ เพื่อให้พบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และทำการรักษาได้ทันท่วงที

สารบัญมะเร็งเต้านม

1. มะเร็งเต้านมน่ากลัวขนาดไหน?

2. มะเร็งเต้านมเกิดจากสาเหตุใด?

3. อาการสัญญาณเตือนเสี่ยงมะเร็งเต้านม

4. วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง?

5. ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

6. การรักษามะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมน่ากลัวขนาดไหน?

มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่พบได้มากที่สุดเป็นอับดับ 1 ในผู้หญิงทั้งไทยและทั่วโลก ในประเทศไทย จะพบผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม 31.4 ต่อ 1 แสนประชากร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นอีก

มะเร็งเต้านมเกิดสาเหตุใด?

โรคมะเร็งเต้านม ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่โดยทั่วไปมักพบว่ามะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์เต้านมเติบโตอย่างผิดปกติ หรือเซลล์ของต่อมน้ำนมมีการแบ่งตัวผิดปกติ เจริญไปเป็นมะเร็ง ก่อนจะลุกลามไปตามท่อน้ำเหลืองในเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ระยะอันตรายคือ เมื่อมีการแพร่กระจายออกไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก นำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิต

ผู้ป่วยระยะก่อนลุกลาม อัตราการอยู่รอด ≥ 10 ปีเกือบ 100%

ระยะ 1 อัตราการอยู่รอด ≥ 5 ปี = 98%

ระยะ 2 อัตราการอยู่รอด ≥ 5 ปี = 93%

ระยะ 3 อัตราการอยู่รอด ≥ 5 ปี = 72%

ระยะ 4 หรือระยะแพร่กระจาย อัตราการอยู่รอด ≥ 5 ปี = 22%

หากสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรกได้เร็ว ก็จะทำให้ความเสี่ยงในการเสียชีวิตลดลง และมีโอกาสที่อายุจะอยู่ได้มากกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 98 แต่หากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการแพร่กระจายแล้ว โอกาสที่จะมีอายุอยู่ได้มากกว่า 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 เท่านั้น และผู้ที่มะเร็งเริ่มมีอาการมากขึ้น เช่น มีอาการปวดกระดูก น้ำหนักลด แขนบวม และมีแผลที่ผิวหนัง

ดังนั้นการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตตัวเอง จึงเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้และให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

อาการสัญญาณเตือนเสี่ยงมะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านม จะส่งสัญญาณเตือนบางอย่างที่ผิดปกติ โดยสังเกตได้จาก

  1. เมื่อคลำบริเวณเต้านมหรือใต้รักแร้ จะพบก้อนหนา ๆ

  2. มีรอยบุ๋มบริเวณหัวนม หรือหัวนมอยู่ผิดตำแหน่ง ถูกดึงรั้งไปทางอื่น

  3. รูปร่างและขนาดของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลง

  4. เต้านมมีผื่นแดงคล้ายผิวส้ม คัน ผิดปกติ

  5. มีอาการปวด หรือเจ็บผิดปกติ บริเวณเต้านม

  6. มีของเหลวไหลออกจากหัวนม เช่น น้ำเหลือง หรือมีแผล

สัญญาณเตือนเสี่ยงมะเร็งเต้านม

วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง?

     1. ตรวจด้วยตัวเอง (Breast Self Exam)

ช่วงระยะเวลาหลังหมดประจำเดือน 7-10 วัน เป็นช่วงที่เหมาะสมในการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง โดยคลำส่วนบนของเต้านมตามแนวก้นหอย ไปจนถึงฐานนมรอบรักแร้

 

ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง

     2. การตรวจอัตราซาวด์ (Ultrasound)

การอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจความผิดปกติของเต้านมด้วยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูง เข้าไปกระทบกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ และส่งกลับมาที่เครื่องตรวจ สามารถจับความผิดปกติของเนื้อเยื่อได้ จุดเด่นคือสามารถใช้ได้ในคนอายุน้อย นอกจากนี้ยังสามารถระบุก้อนเนื้องอก ก้อนซีสต์ ตรวจได้ว่าเป็นก้อนน้ำหรือก้อนเนื้อ  ทำให้วางแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น

 

     3. แมมโมโแกรม (Mammogram)

วิธีนี้จะเหมาะกับการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็ก ใช้ได้ดีที่กลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือคนสูงอายุ ที่มีเนื้อเต้านมไม่หนาแน่นมาก แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นก้อนน้ำหรือก้อนเนื้อ และแปลผลได้ยากเมื่อใช้กับคนที่อายุน้อย

 

     4. ตรวจด้วยตัวเอง (Breast Self Exam)

เมื่อพบความผิดปกติของเต้านมและระบุตำแหน่งของก้อนเนื้อต้องสงสัยด้วยอัตราซาวด์ แพทย์จะต้องทำการตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยการนำชิ้นเนื้อส่งตรวจกับพยาธิแพทย์ เป็นวิธีการวินิจฉัยที่แม่นยำ ไม่ต้องใช้ยาสลบ และรอยเข็มที่ใช้เจาะเข้าไปตัดชิ้นเนื้อจะมีขนาดไม่เกิน 2 มิลลิเมตร

 

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

  1. ผู้หญิงทุกคนที่มีตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เดือนละ 1 ครั้ง

  2. ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ควรตรวจอัลตราซาวน์ 1-2 ปี/ครั้ง

  3. ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจแมมโมแกรม 1-2 ปี/ครั้ง

  4. ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจากมีความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น

การรักษามะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมหากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรก ๆ สามารถทำการผ่าตัดรักษาได้โดยไม่ต้องเสียเต้านมออกไปเลย และหลังรักษาหายแล้วควรเข้าพบแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำอีก

รักษาด้วยการผ่าตัด

วิธีรักษามะเร็งเต้านมด้วยการผ่าตัดเต้านม หรือผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ เป็นวิธีมาตรฐาน แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

  1. ผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้า (Total mastectomy) 

  2. ผ่าตัดเต้านมบางส่วน เฉพาะที่เป็นเนื้อร้ายออก (Breast conserving surgery) 

  3. ผ่าตัดเต้านมทั้งหมดและตัดต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ (Modified radical mastectomy)

  4. ผ่าตัดเต้านมรวมถึงผนังหน้าอกทั้งหมด (Radical mastectomy)

โดยอัตราการรอดชีวิตของผู้ที่ผ่าตัดออกทั้งเต้า และผู้ที่ผ่าตัดออกบางส่วนร่วมกับการฉายรังสี มีอัตราส่วนเท่ากัน ซึ่งในแต่ละเคสแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสม

สรุป

มะเร็งเต้านม ไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้ทั้งหมด เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นความเสี่ยง ตั้งแต่การใช้ชีวิตไปจนถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้หญิงรู้ตัวเร็วขึ้นหากเกิดความผิดปกติ และรักษาได้อย่างทันท่วงนี้ รวมไปถึงการดูแลตัวเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือ Gastroscopy ไม่เจ็บ สามารถวินิฉัยได้ตรงจุด ตรวจง่าย ปลอดภัย แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรคชัดเจน

News and Subscribe

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security