5 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณเสี่ยงโรคอ้วนแทรกซ้อน

โรคอ้วนเป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมไขมันในร่างกายมากเกินไป ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนรุนแรง แต่ยังอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง การตระหนักถึงสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อโรคอ้วนแทรกซ้อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม ลองเช็กหากคุณมี 5 สัญญาณเตือนเหล่านี้ควรระวังเสี่ยงโรคอ้วนจะแวะเข้ามาทักทายโดยไม่รู้ตัว
- ดัชนีมวลกาย (BMI) สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน
วิธีวัดไขมันมีหลากหลายรูปแบบ โดยที่ได้รับความนิยม คือ การวัดจากดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index – BMI เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง โดยคำนวณจากน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง โดยคนปกติจะมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 kg/m2 หากมากกว่า หรือน้อยกว่าค่าดังกล่าว อาจเข้าข่ายภาวะผอมหรืออ้วนมากเกินไปได้ แต่ถ้าหากมีค่า BMI ที่สูงกว่า 25 แสดงถึงภาวะน้ำหนักเกิน และหากเกิน 30 ถือว่า เป็นโรคอ้วน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
- หากมีค่า BMI < 18.5 – 22.9 kg/m² เรียกว่า “ปกติ”
- หากมีค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
- หากมีค่า BMI > 25 kg/m² เรียกว่า “โรคอ้วน”
- เส้นรอบเอวที่มากเกินไป การมีเส้นรอบเอวที่มากเกินไป โดยเฉพาะในผู้ชายที่เกิน 90 ซม. และผู้หญิงที่เกิน 80 ซม. บ่งบอกถึงการสะสมไขมันในช่องท้อง ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วนมักมีไขมันสะสมในผนังลำคอมากขึ้น ทำให้ช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอตีบแคบลงและเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ ส่งผลให้ลมหายใจเข้าออกขาดหายไปชั่วขณะ จนเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) โดยเป็นอันตรายอย่างมาก ซึ่งหากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยเอาไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาของโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา หรืออาจจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิต
- ความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โรคอ้วนมักทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ปวดข้อและข้อเสื่อม น้ำหนักที่มากเกินไปทำให้ข้อต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อและข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร
จึงสรุปได้ว่า การรับรู้และตระหนักถึงสัญญาณเตือนเหล่านี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันและจัดการกับโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หากพบว่ามีสัญญาณเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
PMG Hospital Tweet
สนับสนุนข้อมูลโดย : นพ.ทศพล ตรีจิตรวัฒนากูล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางการผ่าตัดส่องกล้อง โรงพยาบาลพีเอ็มจี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1307