ไข้หวัดใหญ่…ทำให้เรื่องใหญ่

หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อโรคไข้หวัดใหญ่ดี โดยเฉพาะพ่อๆแม่ๆของเด็กวัยเรียน ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มาตามฤดูกาล มักระบาดมากช่วงหน้าฝนถึงหน้าหนาว เกิดจากการติดเชื้อ Influenza virus ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น ไอจามรดใส่กัน การสัมผัสน้ำมูก หรือเสมหะ สามารถพบได้ทุกช่วงวัย

อาการ

• มีไข้สูง 
• ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดรอบกระบอกตา
ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
เบื่ออาหาร บางรายอาเจียน หรือถ่ายเหลว
บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปอดติดเชื้อ สมองอักเสบ

การวินิจฉัย

ยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจป้ายน้ำมูก (Nasal swab for  influenza)

การรักษา

ทานยาต้านเชื้อไวรัส Oseltamivir โดยทานเป็นจำนวน 5 วัน ไข้มักจะลดลงใน 48 – 72 ชั่วโมงหลังได้รับย
• ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ
• ยารักษาตามอาการเช่น ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้
• เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน กรณีมีไข้สูงอาจเกิดไข้ชักได้ สังเกตการณ์หายใจ อาการทางระบบประสาท

การป้องกัน

ใส่หน้ากากอนามัย
ล้างมือด้วยสบู่และน้ำก่อนรับประทานอาหารหรือหยิบจับอาหารเข้าปาก
หลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนพลุกพล่าน
รับประทานอาหารปรุงสุก
แยกของใช้ส่วนตัว

วัคซีนป้องกันโรค

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่ระบาดเกือบทุกปี วัคซีนจะมีการเปลี่ยนสายพันธุ์ที่เป็นองค์ประกอบ จึงต้องฉีดทุกปี แนะนำให้ฉีดในช่วงก่อนฤดูฝน แต่อย่างไรก็ตามสามารถฉีดได้ตลอดปี
• ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรง เช่น โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด เด็กเกิดก่อนกำหนด โรคหัวใจ โรคอ้วน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดครั้งแรกต้องฉีด 2 เข็มห่างกัน 1 เดือนหลังจากนั้นฉีดปีละ 1 ครั้ง

การแพ้ไข่ไม่ใช่ข้อห้ามรับวัคซีน แต่ต้องสังเกตอาการใกล้ชิด อย่างน้อย 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน

แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ เอ็งอายุรกูล
กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลพีเอ็มจี

บทความทางการแพทย์