Home Isolation กักตัวอย่างปลอดภัย เมื่อต้องเผชิญกับเชื้อโควิด-19

Home Isolation เป็นหนึ่งในหนทางดูแลสุขภาพ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น จนโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ทั้งหมด จำเป็นต้องทำ Home Isolation หรือกักตัวพักฟื้นที่บ้าน

Home Isolation คืออะไร ใครที่สามารถทำ Home Isolation ได้ ต้องมีอาการป่วยระดับไหน แบ่งระดับอาการป่วยอย่างไร มีข้อปฎิบัติอย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ติดตามอ่านได้ที่นี่

Home Isolation คืออะไร?

Home Isolation คือการกักตัว ดูแลตัวเองที่บ้าน หนึ่งในวิธีในการดูแลตัวเอง ที่ช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดการแพร่ระบาดส่งต่อเชื้อโรคสู่ผู้อื่น โดยทำในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ (กลุ่มสีเขียว) หรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย คนไข้สามารถสังเกตอาการ และดูแลตัวเองจากบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวใน อย่างน้อย 14 วัน

อาการป่วยแบบไหนเหมาะกับ Home Isolation

ในทางการแพทย์ได้มีการแบ่งระดับอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 ออกเป็น 3 กลุ่มอาการ คือกลุ่มสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เพื่อการดูแลรักษาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม ดังนี้

กลุ่มสีเขียว : ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการ ไอ มีน้ำมูก ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ตาแดง ถ่ายแหลว เจ็บคอ มีผื่น มีไข้ อุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาขึ้นไป ไม่มีอการปวดอักเสบ ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย หายใจลำบาก หรือหายใจเร็ว
กลุ่มสีเหลือง : ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการ แน่นหน้าอก มีอาการไอแล้วรู้สึกเหนื่อย รู้สึกอ่อนเพลีย ถ่านเหลว 3 ครั้ง ต่อวัน หรือมากกว่านั้น มีอาการปวดอักเสบ เวียนศีรษะ มีอาการหน้ามืด หายใจลำบาก มีอาารแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว
กลุ่มสีแดง : ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจแล้วเจ็บ หอบเหนื่อยหนัก หายใจเร็ว อ่อนเพลียตอบสนองช้า พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา ซึม ปอดบวมที่มี hypoxic ไม่รู้สึกตัว

โดยแนวทางการทำ Home Isolation ดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน หรือ การแยกกักตัวที่บ้าน ควรอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ และอยู่ในระบบการตรวจสอบ ติดตามอาการ เนื่องจาก หากมีอาการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้น ก็มีระบบส่งต่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ ทั้งผู้ป่วยโควิด19 ที่กำลังรอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ประเมินแล้วว่า สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ และผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 10 วันและแพทย์ประเมิรว่าว่าสามารถทำ Home Isolation ต่อได้

เตรียมพร้อม Home Isolation ที่บ้าน

สำหรับคนที่อยู่ในเกณ์ Home Isolation การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีสิ่งต้องเตรียมมีดังนี้
  • สถานที่
ถ้าคนไข้กักตัวที่บ้าน ควรเป็นบ้านที่มีพื้นที่เพียงพอ ผู้ป่วยสามารถแยกตัวออกมาจากคนในครอบครัวที่ไม่ติดเชื้อ ต้องแยกการใช้เครื่องปรับอากาศ แยกห้องส่วนตัวของตัวเอง แยกการใช้ห้องน้ำ (หากเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดให้เรียบร้อย) แยกของใช้ แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู แยกภาชนะอาหารต่าง ๆ และแยกตัวรับประทานอาหาร
กรณีที่อยู่คอนโดมิเนียม หรือ ห้องเช่า ที่มีพื้นที่จำกัด แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องคนเดียว และติดต่อผู้ดูแลผ่านช่องทางไลน์ หรือโทรศัพพ์ ค่อยส่งอาหาร ของใช้จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยและสัมผัสให้ได้มากที่สุด
  • อุปกรณ์ของใช้
เบื้องต้นแนะนำให้เตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ติดตัวเพื่อช่วยประเมินอาการตนเองเบื้องต้น
1. เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ดิจิตอล เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพื่อบันทึกในแต่ละวัน
2. เครื่องบอกระดับออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว ที่ได้มาตรฐาน เพื่อใช้ประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอด โดยตัวเลขควรอยู่ทีี่ 97-100% หากตัวเลขไปถึง 94% หรือต่ำกว่าให้เฝ้าระวังทันที อาจเสี่ยงโควิดจะลงปอด กรณีนี้ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที หรือโรงพยาบาลที่ดี
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ของใช้อื่นๆ ที่ควรเตรียมไว้ เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือ เจลล้างมือ เจลลดไข้ แอลกอฮอล์ 70 % ถุงขยะติดเชื้อ
  • ยา
จะเป็นยารักษาตามอาการ หรือยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาพาราเซตามอล, ยาแก้ไอแบบเม็ด Dextromethorphan, ยาแก้ไอน้ำดำ, ยาแก้แพ้ Fexofenadine, ผงเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salts), ยาดมแก้วิงเวียน, ยาลดน้ำมูก Chlorpheniramine หรือ CPM เป็นต้น

ข้อฎิบัติ Home Isolation ผู้ป่วยโควิด 19

  • ห้ามออกจากบ้านและห้ามผู้ใดมาเยี่ยม งดพบปะผู้คน หรือเข้าใกล้หรือสัมผัสผู้อื่น โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุอย่างเด็ดขาดควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อต้องออกมาจากห้อง

  • ควรล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ เน้นย้ำว่าต้องล้างทุกครั้งก่อนหยิบจับของใช้ที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น

  • ต้องแยกขยะ เนื่องจากขยะของผู้ติดเชื้อถือเป็นขยะติดเชื้อ

  • สำหรับผู้ที่พักอาศัยที่คอนโดหรือ หอพัก ห้องเช่า ควรแจ้งนิติบุคคลหรือเจ้าของหอพัก และงดออกจากห้องโดยเด็ดขาด

  • กรณีสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ต้องใส่หน้ากากทุกครั้งที่รับของ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับพนักงานส่งของ และล้างมือทุกครั้งหลังจากรับของ

Home Isolation กับ PMG ดีอย่างไร?

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ Home Isolation กับโรงพยาบาลPMG คือการดูแลอย่างใกล้ชิด มีแพทย์โทรเช็คติตามอาการทุกวัน และมีเจ้าหน้าที่พยาบาลโทรติดตามสุขภาพ 2 ครั้งต่อวัน มีจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อคนไข้ โดยจะแนะนำการรับประทานยากับผู้ป่วยในแต่ละวัน และประเมินตามอาการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลงให้แจ้งทีมแพทย์ โดยสามารถโทรฉุกเฉินได้ 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการตรวจเอ็กซ์เรย์ทรวงอก ตรวจผลโควิด และติดแลปปฎิบัติการ

สรุป

Home Isolation เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว (กลุ่มไม่มีอาการ asymptomatic cases)) และเพื่อให้การทำ Home Isolation เป็นไปได้ด้วยดี และปลอดภัยมากที่สุด คนไข้ต้องหมั่นสังเกตอาการตนเอง วัดอุณหภูมิทุกวัน จดบันทึกทุกวัน ดูแลตัวเองอย่างดี และปฎิบัติตามแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติควรรีบติดต่อแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือ Gastroscopy ไม่เจ็บ สามารถวินิฉัยได้ตรงจุด ตรวจง่าย ปลอดภัย แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรคชัดเจน

News and Subscribe

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security