ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? โรคฮิตของมนุษย์เงินเดือน รู้วิธีป้องกันและดูแลตัวเอง

หลายคนที่เพิ่งมีอาการเริ่มต้นอาจจะชะล่าใจ คิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยธรรมดา อาจส่งผลรุนแรงขึ้นในระยะยาว ในบทความความนี้จึงจะพาไปรู้จักโรคออฟฟิศซินโดรม ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงที

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

โรคออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งอาจลุกลามกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง รวมถึงมีอาการจากปลายประสาทที่ถูกกดทับอย่างต่อเนื่องผู้มีอาการมักเริ่มจากปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เมื่อปล่อยให้เรื้อรังก็จะมีปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย

โรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร?

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น การก้มเล่นโทรศัพท์มือถือ การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน โดยที่ไม่มีการขยับเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนอิริยาบถเลย รวมไปถึงอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม การนั่งไว้ห้าง จึงมักพบในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่พฤติกรรมการทำงานเอื้อต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ง่าย

เมื่ออยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนตึง คลำพบกล้ามเนื้อแข็งตึงเป็นลำได้ ซึ่งจะไป ขัดขวางการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดของกล้ามเนื้อในบริเวณนั้น เกิดเป็นอาการปวดตามมา

อาการออฟฟิศซินโดรม ที่พบได้บ่อย

ลักษณะสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย ได้แก่

  1. อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด จะปวดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาการปวดเป็นได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยจนถึงปวดรุนแรงทรมาน
  2. อาการทางระบบประสาท จะเป็นอาการชาบริเวณมือและแขน จากการที่ปลายประสาทถูกกดทับ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานจะเกิดอาการอ่อนแรงที่อวัยวะนั้นด้วย
  3. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ จะมีอาการ วูบ เย็น เหน็บ ซ่าและมีเหงื่อออกในบริเวณที่มีอาการปวด บริเวณคออาจมีอาการตาพร่า มึนงง หูอื้อ

นอกจากนี้ ออฟฟิศซินโดรม อาจพบร่วมกับอาการอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome), นิ้วล็อค (Trigger Finger),

วิธีสังเกตอาการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเอง

วิธีสังเกตว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ สังเกตได้จาอาการ ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ส่วนใดส่วนหนึ่งบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ท้ายทอย บวกกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือการทำงานที่ต้องอยู่ท่าเดิมนาน ๆ และเริ่มมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดหลังเรื้อรัง ปวดตา ตาพร่า

ซึ่งความรุนแรงของอาการ มีได้ตั้งแต่ปวดเมื่อยแบบธรรมดา ไปจนถึงปวดขั้นรุนแรง และอาจจะมีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาใช้งานก็ได้เช่นกัน หากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

ใครมีโอกาสเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้บ้าง?

ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดในกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แต่ก็ใช่ว่าคนทั่วไปจะไม่มีความเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม โดยผู้ที่ต้องทำกิจกรรมใช้กล้ามเนื้อในลักษณะเดิมเป็นเวลานาน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นได้เช่นกัน

โดยสรุปผู้มีความเสี่ยงสูงที่มีโอกาสเป็นออฟฟิศซินโดรม ได้แก่

  1. พนักงานออฟฟิศ ที่นั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ
  2. นักกีฬา มีอาการจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม หรือออกแรงมากเกินไป
  3. พนักงานขายที่ต้องยืนตลอดทั้งวัน
  4. พนักงานขับรถ ที่ต้องนั่งอยู่ในรถหลายชั่วโมงติดต่อกัน

นอกจากออฟฟิศซินโดรม ยังมีกลุ่มอาการที่เกิดจากส่วนของกระดูกสันหลังมีปัญหา ซึ่งสัมพันธ์กับการจัดท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ไหล่ห่อ ก้มคอ และมักมีอาการรุนแรงตามมา ได้แก่ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น, โรคกระดูกสันหลังคด ที่อาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

  1. รับประทานยา ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการชา
  2. การยืดกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด นอกจากช่วยรักษาอาการแล้ว ยังช่วยสร้างความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคล รวมถึงท่ากายบริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
  3. รักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น (ไม่เหมาะสำหรับคนที่เคยมีอาการชัก, มีการฝังโลหะหรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ)
  4. การฝังเข็มโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  5. รักษาโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ เช่น จ่ายยาสมุนไพร ทำหัตถการเพื่อการรักษา นวดผ่อนคลาย

แนะนำท่าบริหารกล้ามเนื้อ บ่า คอ 4 ทิศทาง เพื่อบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเอง

  1. ท่าเงยหน้า นั่งหลังตรง ประสานมือไว้บริเวณหน้าอก โดยให้นิ้วโป้งทั้งสองข้างตั้งขึ้น นำมาไว้บริเวณใต้คาง แล้วค่อย ๆ ออกแรงดันให้เงยหน้าขึ้น จนรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอด้านหลัง นิ่งค้างไว้ 10 วินาที
  2. ท่าก้มหน้า นั่งหลังตรง ประสานมือวางไว้บริเวณท้ายทอย กดโน้มศีรษะลงไปช้า ๆ จนรู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอด้านหลัง นิ่งค้างไว้ 10 วินาที
  3. ท่าเอียงหูชิดไหล่ นั่งหลังตรง เอามือซ้ายไพล่หลัง แล้วใช้มือขวาวางบนศีรษะเหนือใบหูข้างซ้าย ค่อย ๆ กดโน้มศีรษะไปทางด้านขวาช้า ๆ จนรู้สึกตึงกล้ามเนื้อบ่าคอข้างซ้าย นิ่งค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับทำอีกข้างนึง
  4. ท่าก้มหน้า 45 องศา นั่งหลังตรง เอามือซ้ายไพล่หลัง หันหน้าไปทางขวา 45 องศา แล้วใช้มือขวาวางบนศีรษะ บริเวณศีรษะด้านหลังค่อย ๆ กดโน้มศีรษะลงช้า ๆ จนรู้สึกตึงกล้ามเนื้อต้นคอด้านหลัง นิ่งค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับทำอีกข้างนึง

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

วิธีป้องกันและดูแลตัวเอง เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นออฟฟิศซินโดรมอีก ได้แก่
  1. ออกกำลังกาย เป็นประจำ
  2. พักการใช้กล้ามเนื้อ ลดการใช้โทรศัพท์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  3. จัดท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม ปรับโต๊ะเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ
  4. อย่าจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ควรพักสายตาบ้าง
  5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในอิริยสบถเดิมเป็นเวลานาน ให้เปลี่ยนอิริยาบถทุก 1-2 ชม.
  6. ทำท่าบริการยืดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ สะบัก แขน มือและหลัง เช้า- เย็น ท่าละ 3-4 ครั้ง ทุกวัน
  7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้แจ่มใส

ออฟฟิศซินโดรม รักษาที่ไหนดี ต้องเลือกอย่างไร?

  1. เลือกเข้ารับการรักษากับคลินิกหรือโรงพยาบาลที่มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด หรือ แพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านอาการปวดกล้ามเนื้อ
  2. แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการ บำบัด รักษา ป้องกัน อย่างเหมาะสม มีการตรวจประเมินเพื่อจัดสมดุลโครงสร้างร่างกาย และพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามอาการของแต่ละคน
  3. มีการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อวางแผนการรักษาแบบบูรณาการ ทั้งแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนปัจจุบัน

ที่โรงพยาบาล PMG มีให้บริการดูแลรักษาโรคออฟฟิศซินโดม โดยรักษาแบบบูรณาการ ทั้งจากคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ และแผนกกายภาพบำบัด บริการทั้งในด้านการส่งเสริมป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกาย โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด เช่น การออกกำลังกายเพื่อการรักษา การรักษาด้วยการดัด – ดึง การใช้เครื่องไฟฟ้าความร้อน – ความเย็นในการรักษา

ตลอดทั้งการนวดเพื่อการรักษา นวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพนวด ด้วยน้ำมันอโรม่า เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนไข้มีสุขภาพที่ดีและมีความสามารถในการทำงานของร่างกายอย่างเต็มที่

โปรโมชั่นแนะนำ

สรุป

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงาน อาจไม่ใช่โรคที่อันตรายหรือร้ายแรงนัก แต่เมื่อฝืนร่างกายและปล่อยให้เป็นอาการปวดเรื้อรัง ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิต รวมถึงสภาพจิตใจ ทำให้เกิดความเครียดได้

ดังนั้น เมื่อเริ่มพบว่าตนเองมีอาการปวดที่มีความเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลาม และรักษาให้หายเป็นปกติโดยเร็ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือ Gastroscopy ไม่เจ็บ สามารถวินิฉัยได้ตรงจุด ตรวจง่าย ปลอดภัย แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรคชัดเจน

News and Subscribe

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security