เมื่อใดจึงจะใช้สิทธิ์ 30 บาทฉุกเฉิน (UCEP) ในโรงพยาบาลเอกชนได้ ?

ในปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีนโยบายสนับสนุนการรักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยร้ายแรงต้องรักษาเร่งด่วน ให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลเป็นเวลา 72 ชั่วโมง อาการและภาวะที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวได้แก่

  1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. มีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการ 1 ใน 6 ข้อดังกล่าว ท่านสามารถโทรแจ้งรถพยาบาลเบอร์ 1669 เพื่อให้รับตัวผู้ป่วยรักษาได้ทุกโรงพยาบาลในประเทศไทย เมื่อถึงโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบอาการผู้ป่วยกับเกณฑ์ของสถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โดยหากเข้าเกณฑ์ของทาง สพฉ. แล้วสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีทั่วประเทศ แต่ ถ้าหากไม่เข้าเกณฑ์จะไม่สามารถใช้สิทธิ UCEP ได้

ในกรณีที่ท่านพบเห็นผู้ป่วย หมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ให้ผู้ที่พบเห็นขอความช่วยเหลือคนรอบข้าง โดยเฉพาะบุคคลที่ผ่านการฝึกฝนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานขึ้นไป จากนั้นรีบโทรแจ้ง 1669 และช่วยกันกดหน้าอก (ปั๊มหัวใจ) ทันที ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาถึงเพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้มากที่สุด โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือ Gastroscopy ไม่เจ็บ สามารถวินิฉัยได้ตรงจุด ตรวจง่าย ปลอดภัย แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรคชัดเจน

สมัครรับข่าวสาร

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security