รักษาหาย...ใช่ว่าจะจบ รู้จัก“Long COVID”อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อCOVID-19

แม้การรักษาโควิด -19 จะสามารถรักษาให้ได้แล้ว แต่โดยภาพรวมของปัญหาสุขภาพยังไม่ได้หมดไปอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะเมื่อหลังหายจากโควิด-19 ผู้ป่วยมักต้องเผชิญกับอาการที่เรียกว่า Post Covid Syndrome หรือ Long COVID

ภาวะลองโควิด (Long COVID) หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 จะมีความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ และสามารถดูแลตัวเองหลังรักษาโควิด-19 หายแล้ว แนะนำให้ทำการฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกวิธี เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงได้มากที่สุด 

 

Long COVID คืออะไร ?

Long COVID (Post Covid Syndrome) หรือ อาการหลงเหลือหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว มักพบใน ในช่วง 1-3 เดือนแรก พบได้ร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว
โดยเฉพาะกลุ่มป่วยรุนแรง ซึ่งอาการแสดงของ “ภาวะลองโควิด” สามารถแสดงออกได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท,ระบบทางเดินอาหาร, หัวใจ และหลอดเลือด โดยในแต่ละบุคคล จะมีอาการแตกต่างกันไม่ตายตัว

สาเหตุเนื่องจากในช่วงที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมา และไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ  โดยอาจจะมีอาการ เช่น ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง และบางรายอาจมีอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย ส่งผลให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม

ในเบื้องต้นหากผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้วยังมีอาการที่กล่าวมา แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและดูแลตัวเองให้ถูกวิธี

กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพบอาการ Long COVID

อาการ Long COVID สามารถเกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะในกลุ่มคนเหล่านี้ ที่ในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคที่เกิดกับระบบอวัยวะอื่นๆ และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

นอกจากนี่ยังพบอีกว่าสามารถเกิดได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายอีกด้วย

ลักษณะอาการแสดงหลัง COVID

กลุ่มอาการของผู้ป่วยหลัง Covid สามารถแบ่งออก เป็น 3 กลุ่มได้แก่

กลุ่มอาการ (Long Covid)

  • อ่อนเพลียเรื้อรัง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มึนงง ไม่สดชื่น
  • ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบากไม่อิ่ม รู้สึกแน่นๆ หน้าอก
  • นอนหลับ สมองไม่สดชื่น ความจำไม่ดีเหมือนเดิม ความจำสั้น สมาธิสั้น
  • ปวดตามข้อ เจ็บข้อหรือกล้ามเนื้อ รู้สึกจี๊ดๆ ตามเนื้อตัว หรือปลายมือปลายเท้า
  • มีไข้ แสบตา คันตา น้ำตาไหล
  • คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย
  • มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีผลกระทบทางจิตใจหลังเผชิญสถานการณ์รุนแรง (Post-Traumatic Stress Disorder)

กลุ่มอาการแทรกซ้อน (Multiorgan effects of COVID-19)

  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (ประมาณ 15% ของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับผลข้างเคียงของวัคซีนบางชนิด)
  • อาการเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ไตวายเฉียบพลัน
  • ตับอักเสบเฉียบพลัน
  • มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท/ จิตใจ
  • ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

รวมทั้งกลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem inflammatory Syndrome : MIS) เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบของระบบต่าง ๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ถ่ายเหลว ไตวาย ช็อก หลังป่วยเป็นโควิด-19 และหายแล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์

กลุ่มอาการข้างเคียง

ในกลุ่มอาการผลข้างเคียงจะมาจากการนอนโรงพยาบาลนานด้วยโรคอื่น ที่ผู้ป่วยเมื่อรักษาโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงมักต้องรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต หรือ ICU เมื่อพ้นระยะวิกฤตมาแล้วจะเกิดภาวะ ‘หลัง ICU’ (Post-intensive Care Syndrome: PICS) เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู

วิธีดูแลหลังหายจากโควิดแล้วควรทำอย่างไร ?

  • สำหรับผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 และสามารถกลับบ้านได้แล้ว แต่หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น เช่น ไข้สูง หอบเหนื่อยง่าย มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกแขนขาอ่อนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อแยกโรคก่อนว่ามีภาวะเสี่ยงที่ต้องรีบรักษาเร่งด่วนหรือไม่
  • ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือเพิ่งตรวจพบโรคประจำตัวใหม่หลังรักษาโควิด-19 หาย ก็ควรกลับเข้ามารับการประเมินสุขภาพให้ครบถ้วนอีกครั้งหนึ่ง และทำการรักษาตามอาการที่แพทย์แนะนำ
  • ในผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ ควรได้รับการดูแลต่อเนื่องจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินหายใจร่วมกับทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ผู้ป่วยที่มีความเครียด อ่อนล้า ปัญหาเรื่องการนอนที่สะสมมาตั้งแต่ตอนที่ติดเชื้อ สามารถติดต่อพูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ
  • อาการ Long COVID เป็นผลจากความผิดปกติภายในร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดจึงควรให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการตนเอง ดูแลสุขภาพตัวเองเป็นอย่างดี ควรหาเวลาตรวจเช็กสุขภาพโดยรวมอีกครั้ง และแนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

การฟื้นฟูปอดหลังจากติดเชื้อ COVID-19 จำเป็นแค่ไหน?

การดูแลและฟื้นฟูสุขภาพหลังหายจากเชื้อจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะสุขภาพปอด เพราะการติดเชื้อ COVD-19 ทำให้ปอดอักเสบ และมีเสมหะ อุดกั้นถุงลมปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลงเกิดอาการเหนื่อยหอบไปจนถึงภาวะหายใจล้มเหลว

แม้จะหายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้วก็ตาม แต่โควิด-19ยังทิ้งรอยโรคไว้ เช่น เกิดพังผืด และแผลเป็นในปอด ส่งผลให้สมรรถภาพของปอดลดลง รู้สึกหายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีเช่นเดิม ซึ่งหากตรวจสมรรถภาพทางปอด จะพบว่าสมรรถภาพทางปอดต่ำกว่าปกติ ซึ่งหากอยู่เฉยๆ อาจไม่ค่อยรู้สึก แต่หากต้องไปออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมหนักๆจะรู้สึกว่าเหนื่อยกว่าปกติมาก

ดังนั้นผู้ป่วยหลังหายจากโควิด-19 จึงควรเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูปอด ซึ่งการฟื้นตัวของปอดหลังจากหายจากโรค COVID-19 จะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ
  • ช่วงแรก เป็นช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังจากหายจากโรค COVID-19 สิ่งที่จะพบคือ ยังพบฝ้าขาวที่ปอดในฟิล์มเอกซเรย์ แต่มีปริมาณเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงติดเชื้อ
  • ช่วงที่ 2 คือช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากที่หายจากโรค ร่างกายจะมีการฟื้นฟูกลับมาบ้างแล้ว แต่จะยังรู้สึกว่าอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม

การดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยโควิดและ Long COVID ประกอบไปด้วยแพทย์ผู้ชำนาญในสาขาต่างๆ ทีมพยาบาลวิชาชีพ ทีมเภสัชกรเฉพาะทาง และสหวิชาชีพ รวมถึงมีโปรแกรมที่ออกแบบตามอาการของแต่ละบุคคล (Personalized Treatment Program) อาทิ

  • การฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ และปอด
  • การรักษาด้วยยา
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู กายภาพบำบัด
  • การบำบัดรักษาภาวะซึมเศร้า
  • การฝึกการรับกลิ่น

รวมถึงการรักษาอาการร่วมอื่นๆ ที่เกิดขึ้น อาทิ โรคหัวใจ โรคทางเดินอาหาร การติดเชื้อ ระบบประสาท จากแพทย์ผู้ชำนาญการ

ฟื้นฟูปอดหลังจากติดเชื้อ COVID-19 ที่ไหนดี

ปัจจุบันโรงพยาบาลพีเอ็มจี และโรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ ให้บริการทางการแพทย์ทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นสภาพด้วยการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต และให้ความสำคัญกับทิศทางของ “Long COVID” ด้วยการเปิดให้บริการ โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดหลังจากติดเชื้อ COVID-19 เพื่อให้คุณภาพชีวิตกลับมาเป็นปกติ

โปรแกรมฟื้นฟูร่างกาย สมรรถภาพปอด และระบบหายใจสำหรับผู้ป่วย covid-19 จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยหลังกลับบ้าน โดยการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพปอด และระบบหายใจ สามารถช่วยให้ถุงลมในเนื้อปอดค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมายืดหยุ่นมากขึ้น ทางโรงพยาบาลมีการใช้เครื่องมือในการเพิ่มสมรรถภาพของปอดที่เรียกว่า Triflow หรือเครื่องบริหารปอด ในการฝึกดูดหรือเป่าโดยฝึกร่วมกับเทคนิคการหายใจแบบ ACBT เพื่อช่วยให้ปอดยืดหยุ่นฟื้นตัวได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการแนะนำแนวทางออกกำลังกาย เพื่อที่จะสามารถกลับมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังเดิม

สรุป

ผู้ที่รักษาโรคโควิด-19 หายหลังกลับบ้าน หากมีอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ก เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้ระยะเวลาที่มีความผิดปกตินั้นสั้นลง หรือโอกาสที่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้เร็ว หรือในรายที่แม้จะไม่มีอาการ Long COVID แสดงชัดเจน ก็ควรกลับมาตรวจเช็กสุขภาพ เพื่อลดโอกาสเกิดโรคร้ายแรงในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือ Gastroscopy ไม่เจ็บ สามารถวินิฉัยได้ตรงจุด ตรวจง่าย ปลอดภัย แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรคชัดเจน

สมัครรับข่าวสาร

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security