ในปัจจุบันมีวิธีการคุมกำเนิดให้เลือกใช้อยู่หลายวิธี การฝังยาคุมกำเนิด เป็นหนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูง ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก

และยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้เป็นระยะเวลานาน เมื่อเทียบกับการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น กินยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ใส่ห่วงคุมกำเนิด แปะแผ่นยาคุมกำเนิด ใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน และการหลั่งภายนอก จึงทำให้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในผู้ที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์

การฝังยาคุมกำเนิดดีอย่างไร? เหมาะกับใคร? ตัวยาสำคัญและการออกฤทธิ์รวมถึงประสิทธิภาพในป้องกันการตั้งครรภ์ ผลไม่พึงประสงค์ต่างๆ

หรือ ข้อดี-ข้อเสียต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกคุมกำเนิดด้วยวิธีฝังยาคุมกำเนิด ติดตามอ่านได้ในบทความนี้

สารบัญ ฝังยาคุมกำเนิด

1. ยาฝังคุมกำเนิด คืออะไร?

2. ยาฝังคุมกำเนิด มีกี่ประเภท?

3. อาการต้องสงสัย โรคหัวใจ

4. ใครบ้างที่เสี่ยงโรคหัวใจ

5. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจ

6. วิธีรักษาโรคหัวใจ

ยาฝังคุมกำเนิด คืออะไร ?

ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive Implant) คือ วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูง ที่มีการใช้มานานแล้วเกือบ 40 ปี สามารถป้องกัน

การตั้งครรภ์ได้ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวยา โดยตัวยาสำคัญที่ใช้ จะเป็นฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสติน (Progestin) เช่น เลโวนอร์เจสเตรล

(Levonorgestrel) และเอโทโนเจสเตรล (Etonogestrel)

ยาฝังคุมกำเนิดคืออะไร?

ยาฝังคุมกำเนิด มี 3 ประเภท

1. ยาฝังคุมกำเนิดชนิด 6 หลอด

ลักษณะเป็นแคปซูลซิลิโคนขนาด 2.4 มิลลิเมตร x 34 มิลลิเมตร แต่ละแท่งมีตัวยาเลโวนอร์เจสเตรล 36 มิลลิกรัม ใช้คุมกำเนิดนาน 5 ปี

เช่น Norplant (นอร์แพลนท์) แต่เนื่องจากการฝังยาและเอาออก ใช้เวลานานและมีรอยแผลขนาดเล็ก ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมและยกเลิกใช้ไป

2. ยาฝังคุมกำเนิดชนิด 2 หลอด

ลักษณะเป็นหลอดซิลิโคนขนาด 2.5 มิลลิเมตร x 43 มิลลิเมตร สามารถออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แต่ละแท่งจะมีเลโวนอร์เจสเตรล

75 มิลลิกรัม เช่น Jadelle (จาเดลล์) แม้การฝังยาและเอาออกจะมีรอยแผลขนาดเล็กเช่นเดียวกัน แต่ด้วยระยะเวลาที่สามารถคุมกำเนิด

ได้นานถึง 5 ปี จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

3. ยาฝังกำเนิดชนิด 1 หลอด

ลักษณะเป็นแท่งซิลิโคนขนาด 2 มิลลิเมตร x 40 มิลลิเมตร สามารถออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้นาน 3 ปี มี เอโทโนเจสเตรล 68 มิลลิกรัม เช่น Implanon

(อิมพลานอน) มาพร้อมอุปกรณ์สำหรับการฝังหลอดยา ทำให้ทำได้สะดวกขึ้นมาก ไม่ต้องมีรอยแผลผ่า และเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดก็สามารถถอด

ออกได้โดยง่าย มีรอยแปลขนาดเล็กเท่านั้น และฝังแท่งใหม่เข้าไปได้เลย

ยาคุมกำเนิดชนิดฝังเหมาะกับใคร ?

  • ผู้ที่ต้องการวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง
  • ผู้ที่คิดจะคุมกำเนิดในระยะเวลานาน ๆ 3-5 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่ชอบลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อย ๆ
  • ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น เช่น คุณแม่ให้นมบุตรสามารถใช้ได้

ข้อควรรู้ : ผู้ที่เหมาะสำหรับกับการการฝังยาคุม ยังมีข้อจำกัดบางประการดังนี้ 

ผู้ต้องการฝังยาคุมจะสามารถฝังได้ภายใน 5 แรกของการมีประจำเดือน
หลังคลอด 4-6 สัปดาห์ หรือ หลังแท้งบุตรธรรมชาติทันที หรือ 2-3 สัปดาห์

การออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ของยาคุมกำเนิดชนิดฝัง

ตัวยาเลโวนอร์เจสเตรล หรือเอโทโนเจสเตรล ซึ่งเป็นตัวยาสำคัญที่ปล่อยจากแท่งยาอย่างต่อเนื่องและออกฤทธิ์ ดังนี้

  • ยับยั้งการตกไข่ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการป้องกันการตั้งครรภ์

  • ลดปริมาณมูกปากมดลูกและทำให้มูกปากมดลูกข้นหนืดจึงขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ

  • ลดการโบกพัดของขนอ่อนในท่อนำไข่

  • ลดขนาดและลดจำนวนต่อม ซึ่งทำหน้าที่สร้างสารคัดหลั่งที่เยื่อบุมดลูก

ขั้นตอนการยาฝังคุมกำเนิด ใช้อย่างไร ?

การเตรียมตัวฝังยาคุมกำเนิด ต้องมั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์อยู่และผ่านการตรวจการตั้งครรภ์แล้ว เพราะยาที่ฝังจะมีผลในทันที โดยผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด สามารถเข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน หรือหลังแท้งบุตรธรรมชาติทันทีหรือ 2-3 สัปดาห์ หรือหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ มีขั้นตอน ดังนี้

  • แพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

  • ฉีดยาชาเฉพาะที่ไปที่บริเวณใต้ท้องแขนที่จะฝังยาเข้าไป

  • ใช้เข็มเปิดแผลที่ท้องแขนขนาด 0.3 เซนติเมตร

  • สอดใส่แท่งที่มีหลอดยาบรรจุอยู่เข้าไปในเข็มนำ

  • เมื่อหลอดยาเข้าไปใต้ผิวหนังเรียบร้อยแล้ว นำเข็มและแท่งนำหลอดยาออก

  • ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เล็ก ๆ ตามด้วยผ้าพันแผลพันทับอีกชั้นหนึ่ง

  • แพทย์จะให้ยาแก้ปวดกลับไปรับประทาน หากมีอาการปวดแผล

    การฝังยาคุมกำเนิดใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 10-20 นาที หลังฝังยาคุมกำเนิดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะลองจับบริเวณที่ฝัง เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของยา

    ที่ฝังเข้าไป หรือหากมีความจำเป็นอาจต้องทำอัลตราซาวด์หรือ X-Ray เพื่อยืนยันว่ายาฝังคุมกำเนิดได้ถูกฝังเอาไว้อย่างถูกต้อง

    การดูแลตัวเองหลังฝังยาคุม

    • หลัง 24 ชั่วโมง สามารถนำผ้าพันแผลออกได้ แต่ยังคงเหลือพลาสเตอร์ปิดแผลเอาไว้

    • หลัง 3-5 วัน นำพลาสเตอร์ปิดแผลออกได้ ระวังไม่ให้แผลเปียกน้ำ

    • งดการมีเพศสัมพันธ์หรือให้คุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัยเป็นเวลา 7 วัน

    • ครบ 7 วัน แพทย์จะนัดมาดูแผลอีกครั้ง

    • เมื่อครบกำหนด 3-5 ปี มาเปลี่ยนยาคุมกำเนิดแท่งเดิมออก เพราะประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะลดลงและฝังยาคุมกำเนิดแท่งใหม่

    ข้อควรระวังหลังรับยาฝังคุมกำเนิด

    ผลไม่พึงประสงค์ของยาคุมกำเนิดชนิดฝัง อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งในบริเวณที่ฝังยาและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งหากมีการใช้ยาอื่นร่วมด้วย ดังนี้

    1. ผลไม่พึงประสงค์บริเวณที่ฝังแท่งยา

    อาการที่พบ เช่น เจ็บ บวม คัน ระคายผิว รอยช้ำ เกิดการติดเชื้อและแผลเป็น ผิวหนังฝ่อ เกิดพังผืดรอบแท่งยาโดยเฉพาะหากมีการติดเชื้อ

    นอกจากนี้หากฝังแท่งยาไม่ถูกต้องอาจเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท การฝังแท่งยาตื้นเกินไปอาจทำให้รู้สึกเจ็บ

    รบกวนการรับความรู้สึกที่ผิวหนังบริเวณที่ฝังแท่งยาและเกิดผิวหนังอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ

    ส่วนการฝังแท่งยาใต้ผิวหนังลึกจะเสี่ยงต่อการเคลื่อนที่ของแท่งยาไปตำแหน่งอื่น ทำให้ตัวยาปล่อยสู่กระแสเลือดมากขึ้น

    และยังเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากแท่งยาได้เชื้อ

    2. ผลไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้น

    ในช่วง 2-3 เดือนแรก อาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น ประจำเดือนมาผิดปกติ, ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, เจ็บคัดเต้านม, คลื่นไส้, ปวดท้อง, อารมณ์แปรปรวน, ซึมเศร้า, ช่องคลอดอักเสบและแห้ง, สิว, ฝ้า, บวมน้ำ, น้ำหนักตัวเพิ่ม เมื่อเวลาผ่านไป ผลข้างเคียงเหล่านี้จะหายไปเอง แต่ถ้าหากพบว่ามีอาการต่อไปหรือพบว่ามีผลข้างเคียงอื่น ๆ เกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์

    3. ผลไม่พึงประสงค์จากการใช้ร่วมกับยาอื่น

    ยาฝังคุมกำเนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งมีฤทธิ์เพิ่มการสร้างเอนไซม์ที่เปลี่ยนแปลงยาฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน ไปเป็นสารอื่นที่ไม่มีฤทธิ์ ทำให้ระดับยาในเลือดลดลง ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลงได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าใช้ยาอะไรอยู่เป็นประจำ

    ข้อดี-ข้อเสีย หลังรับยาฝังคุมกำเนิด

    ข้อดี-ข้อเสียฝั่งยาคุมกำเนิด

    ข้อดี

    • ประสิทธิภาพสูง ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวยา

    • อัตราความล้มเหลวในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำ ไม่เกิน 0.1%

    • สะดวกกว่าการนับวันตกไข่ กินยาคุมกำเนิด หรือฉีดยาคุมกำเนิด

    • ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว เมื่อเทียบกับระยะเวลาคุมกำเนิด

    • ไม่มีฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตเจน จึงปลอดจากภาวะไม่พึงประสงค์ของเอสโตรเจน ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง,

    • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ และใช้ได้ในผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาที่มีเอสโตรเจน

    • ประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว เมื่อเทียบกับระยะเวลาคุมกำเนิด

    ข้อเสีย

    • ไม่สามารถเริ่มใช้หรือหยุดใช้ด้วยตนเอง การฝังแท่งยาและการนำแท่งยาออก ต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์

    • อาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ, ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, เจ็บคัดเต้านม, คลื่นไส้, ปวดท้อง, อารมณ์แปรปรวน, ซึมเศร้า, รบกวนความรู้สึกทางเพศ, ช่องคลอดอักเสบและแห้ง, เกิดสิว ฝ้า, บวมน้ำ, น้ำหนักตัวเพิ่ม

    • หากฝังไม่ถูกวิธี อาจเกิดอันตรายต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท

    • หากฝังยาลึกเกินไป อาจเกิดการเคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง กระทบการออกฤทธิ์ของยา และเกิดอันตรายจากแท่งยาได้

    • อาจเกิดอาการข้างเคียง เช่น เจ็บ, บวม, ช้ำ, ระคายเคือง, ติดเชื้อ, ผิวหนังฝ่อ และเกิดพังผืดรอบแท่งยา

    • ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่างจากการใช้ถุงยางอนามัย

    นำแท่งยาคุมกำเนิดชนิดฝังออกได้เมื่อไร ?

    • ยุติการคุมกำเนิด เมื่อต้องการตั้งครรภ์

    • เปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด เมื่อต้องการเปลี่ยนไปใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นแทน

    • ครบกำหนดระยะเวลา ตัวยาคุมกำเนิดแบบฝังอยู่ได้นานประมาณ 3-5 ปี ขี้นอยู่กับชนิดของตัวยา หากต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีฝังยาคุมกำเนิดต่อ ต้องนำยาคุมกำเนิดแท่งเดิมออกและฝังยาคุมกำเนิดแท่งใหม่

    • แท่งยาคุมชำรุด เกิดการหักของแท่งยาคุม ทำให้ยาถูกปล่อยออกมาเร็วเกินจนเหลือยาไม่เพียงพอที่จะป้องกันการตั้งครรภ์ในระยะเวลาที่กำหนด ต้องนำยาคุมกำเนิดแท่งเดิมออกและฝังยาคุมกำเนิดแท่งใหม่

    • เกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) หรือสมองขาดเลือด (stroke) หลังการฝังยา, ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism) ทั้งภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำลึก (deep vein thrombosis) และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (pulmonary embolism), ความดันโลหิตสูงจนควบคุมไม่ได้, โรคดีซ่านหรือภาวะเหลือง (jaundice), โรคไมเกรนที่มีอาการเตือน (migraine with aura) และภาวะซึมเศร้าอย่างชัดเจน

    • แท่งยาคุมกำเนิดเคลื่อนที่ หากยาฝังคุมกำนิดเคลื่อนที่จนคลำไม่ได้ ต้องตรวจหาตำแหน่ง เช่น อัลตราซาวน์, X-Ray, CT Scan แล้วนำยาคุมกำเนิดแท่งเดิมออกและฝังยาคุมกำเนิดแท่งใหม่ เพราะการที่ยาเคลื่อนที่ ทำให้ยาถูกปล่อยออกมาเร็วเกินจนเหลือยาไม่เพียงพอที่จะป้องกันการตั้งครรภ์ในระยะเวลาที่กำหนด และเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ

    ทั้งนี้ การนำแท่งยาคุมกำเนิดออก ไม่ควรนำออกเอง ต้องนำออกโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น

    คำถามที่พบบ่อย

    1. ยาฝังคุมกำเนิด แพงไหม ?

    ยาฝังคุมกำเนิด มีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับระยะเวลาคุมกำเนิด ซึ่ง จะแตกต่างกันแล้วแต่สถานที่รับบริการ

    แพ็กเกจและโปรโมชั่นฝังยาคุมกำเนิด

    แผนกสูติ-นรีเวชกรรมโรงพยาบาลพีเอ็มจี ให้บริการ วางแผนครอบครัว มีบริการคุมกำเนินดังนี้ ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิด, ยาฝังคุมกำเนิด

    โดยทีมสูตินรีแพทย์และพยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ ทางโรงพยาบาลพร้อมดูแลและให้คำปรึกษา

    2. ขั้นตอนการฝังยาคุมเจ็บไหม ?

    การฝังยาคุมกำเนิด อาจรู้สึกเจ็บ แต่เป็นความเจ็บแบบทนได้ เนื่องจากต้องฝังบริเวณท้องแขนด้านใน แต่จะมีอุปกรณ์พิเศษในการใส่ยาเข้าไป

    มีขนาดรอยแผลไม่ถึง 1 เซนติเมตร และจะมีการฉีดยาชาก่อนทำ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องความเจ็บ หรืออาจมีอาการข้างเคียง เช่น รอยช้ำ ปวด ตึงรั้งบริเวณท้องแขน อาการเหล่านี้เป็นปกติสามารถหายได้เอง หรือรับประทานแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

    3. หลังยาฝังคุมกำเนิด มีเพศสัมพันธ์ ได้เมื่อไหร่ ?

    สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ หลังฝังยาคุมกำเนิดเป็นเวลา 7 วัน

    4. หลังยาฝังคุมกำเนิด แล้วตั้งครรภ์เกิดจากสาเหตุใด ?

    ยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพสูงในการตั้งครรภ์ แต่ก็พบว่ามี 0.05-0.1% ที่เกิดการตั้งครรภ์ หรือ 1 ใน 1,000 คน สาเหตุอาจเกิดได้จาก แท่งยาคุมชำรุด เกิดการหัก หรือเคลื่อนที่ เปลี่ยนตำแหน่ง สาเหตุเหล่านี้ ทำให้ยาถูกปล่อยออกมาและดูดซึมเข้ากระแสเลือดเร็วเกินไป จนไม่เหลือเพียงพอที่จะป้องกันการตั้งครรภ์ในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งหากเกิดการตั้งครรภ์จะมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ

    สรุป

    การฝังยาคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันมีใช้อยู่ 2 ประเภท สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวยา โดยแพทย์จะฝังยาคุมกำเนิดไว้ที่ท้องแขนด้านใน เหมาะกับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลานาน ด้วยวิธีที่ปลอดภัย สะดวก เห็นผลเร็ว และมีความคุ้มค่า หากต้องการตั้งครรภ์ เพียงแค่นำยาฝังคุมกำเนิดออก ก็มีโอกาสกลับมาตั้งครรภ์ได้ตามปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือ Gastroscopy ไม่เจ็บ สามารถวินิฉัยได้ตรงจุด ตรวจง่าย ปลอดภัย แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรคชัดเจน

สมัครรับข่าวสาร

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security