ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก วิธีใดได้บ้าง แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?

โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งปี 2562 ประมาณการจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ราว 5,500 คน หรือคิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดโรค 9.3 คนต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,200 คน ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เเต่สามารถป้องกันได้ หากได้รับการตรวจคัดกรองเเละฉีดวัคซีนอย่างถูกต้อง

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหลายวิธี ในบทความจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแต่ละแบบ ขั้นตอนการเตรียมตัว พร้อมแนวทางป้องกันที่ต้นเหตุ เพื่อให้ผู้หญิงไทยห่างไกลโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

สารบัญ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

1. ทำไมต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?
2. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
3. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีกี่แบบ?
   – Pap smear
   – Thin prep
   – Thin prep plus HPV DNA
4. ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?
5. การเตรียมตัวก่อนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
6. Q&A คำถามที่พบบ่อย

ทำไมต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เป็นอย่างดี แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นโรคมะเร็ง ที่หลาย ๆ คนกลัว แต่มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในกลุ่มมะเร็งที่สามารถทราบสาเหตุการเกิดโรคได้ รวมถึงมีวิธีการตรวจคัดกรอง เพื่อลดความเสี่ยง ดังนั้นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นประจำทุกปีจะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคืออะไร?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คือ การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนที่จะเกิดความผิดปกติแสดงอาการ เป็นวิธีการตรวจเพื่อหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถป้องกันและรักษามะเร็งระยะเริ่มแรกอย่างได้ผล

ทั้งนี้มะเร็งปากมดลูก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
– ระยะเริ่มต้น สามารถตรวจคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกทราบได้ โดยที่คนไข้ยังไม่มีอาการ
– ระยะท้าย คนไข้เริ่มมีอาการแสดง เช่นมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีอาการตกขาวเรื้อรัง หรือมีเลือดออกปนตกขาว อาการเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าต้องรีบมาตรวจมะเร็งปากมดลูก เพราะถ้ามีอาการเหล่านี้แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ จนมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด จะเป็นลักษณะอาการที่เชื้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ยากต่อการรักษาและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีกี่แบบ?

ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่ 3 วิธี ได้แก่
Pap smear ตรวจแปปเสมียร์ (ตรวจแปปเสมียร์)
เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายไม้พาย เก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนนำส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน

Thin prep (ตินเพร็พ)
พัฒนามาจากการตรวจวิธีแปปเสมียร์ มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น โดยมีข้อมูลการศึกษาวิจัยจากสถาบันทั่วโลกพบว่าจากการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Thin prepจะให้ผลละเอียดกว่าการตรวจแบบเก่าวิธีแปปเสมียร์
วิธีนี้สูตินรีแพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กเก็บเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก ถอดหัวของแปรงใส่ลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ ซึ่งจะก่อให้ได้ตัวอย่างเซลล์ครบ จากนั้น นำเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์บนสไลด์แก้วจะมีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนของมูก เซลล์เม็ดเลือด หรือลดการซ้อนทับกันของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไป ทำให้เพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น

Thin prep plus HPV DNA
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ด้วย Thin Prep Plus Cervista HPV DNA Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก ร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถตรวจพบความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ดีกว่าการตรวจ Pap smear อย่างเดียว คือสามารถเจาะลึกว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ ซึ่งจะช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝงได้เป็นอย่างดี

 

โปรโมชั่นแนะนำโรงพยาบาลพีเอ็มจี

– โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Papsmear 890.-
– โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Thin prep 1,990.-
– โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Thin prep plus HPV DNA 2,900.-

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?

สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแนวทางผู้ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนี้

  • สตรีทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี
  • สตรีที่แต่งงานเมื่ออายุน้อย
  • สตรีที่คลอดบุตรหลายคน
  • สตรีที่มีคู่นอนหลายคน เป็นกามโรคบ่อย ๆ
  • มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก

ทั้งนี้สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป หากมีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีผลออกมาเป็นปกติ 3 ปีติดต่อกัน และไม่มีผลการตรวจที่ผิดปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และไม่มีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก อาจยกเลิกการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้

เตรียมตัวก่อนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  • ควรนัดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอด ก่อนการตรวจ
  • ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิ ในช่องคลอดก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
  • งดมีเพศสัมพันธ์ ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง

Q&A คำถามที่พบบ่อย

Q : การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ใช้ระยะเวลานานไหม ถึงรู้ผล?
A : ใช้เวลาตรวจโดยประมาณ 15-20 นาที สามารถทราบผลภายใน 3 อาทิตย์ข้างหลังวันเก็บตัวอย่างเซลล์
Q : หากเคยฉีดวัคซีน HPV มาแล้ว จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?
A : แนะนำให้เข้ารับการตรวจ เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถคุ้มครองป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูกได้ทุกสายพันธุ์

สรุป

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีที่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนควรดูแลสุขอนามัย มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย รวมถึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากโรคมะเร็งร้ายนี้อย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคริดสีดวงถือเป็นปัญหาที่กวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเจ็บปวดที่รบกวนทางกาย และรบกวนการใช้ชีวิตของใครหลายๆคน ปัจจุบันได้มีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ โดยที่เจ็บตัวน้อย ฟื้นตัวได้ไว และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือ Gastroscopy ไม่เจ็บ สามารถวินิฉัยได้ตรงจุด ตรวจง่าย ปลอดภัย แพทย์สามารถเห็นสาเหตุที่เกิดรอยโรคชัดเจน

สมัครรับข่าวสาร

ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อสมัครรับข่าวสารและโปรโมชั่นแพคเกจ ผ่านทาง Email โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

Malcare WordPress Security