โควิดวัคซีนในเด็ก

หนึ่งในความกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่ คือ ความปลอดภัยของลูก เมื่อต้องกลับไปเรียนที่โรงเรียนในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้ง

มีข้อมูลหลายทางที่อาจสร้างความสับสนเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศออกมาว่า วันที่ 4 ต.ค. 2564 เป็นต้นไป จะเริ่มฉีดวัคซีน mRNA (ไฟเซอร์) ฟรี ให้แก่เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ตามความสมัครใจของผู้ปกครอง ซึ่งได้มีการประสานกับทางโรงเรียนในการ

ส่งหนังสือแจ้งความยินยอมของผู้ปกครองในการให้เด็กฉีดวัคซีน

ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ผู้ปกครองจึงควรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เพื่อคลายความกังวลใจ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยของลูก 

ตอบทุกคำถามที่สงสัยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ที่นี่

สารบัญ โควิดวัคซีนในเด็ก

1. เด็กนักเรียนควรฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่

2. ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ยี่ห้อไหนดี

3. ฉีดวัคซีน mRNA ปลอดภัยหรือไม่

4. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก

5. เด็กที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ดูแลตัวเองย่างไร

เด็กนักเรียนควรฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ร่วมกับการป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัย เป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุสถานการณ์สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก กลุ่มอายุตั้งแต่ 0-18 ปี ในการระบาดระลอกเดือน เม.ย.2564 (1 เม.ย.-11 ก.ย.) มีผู้ติดเชื้อสะสมแล้ว 174,645 ราย แบ่งเป็นเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น อายุ 6-18 ปี 129,165 ราย เสียชีวิต 15 ราย และเด็กปฐมวัย อายุ 0-5 ปี ติดเชื้อสะสม 45,480 ราย เสียชีวิต 14 ราย

การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จึงมีประโยชน์หลายด้าน ดังนี้

  • ลดโอกาสการติดเชื้อของเด็กเมื่ออยู่ในโรงเรียน

  • ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคโควิดรุนแรงในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children : MIS-C)

  • หรือภาวะมิสซี คือเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย มีผลกระทบต่อหัวใจและปอด

  • ลดโอกาสการติดเชื้อที่เด็ก ๆ อาจจะติดเชื้อแล้วมีอาการน้อย ไปแพร่ให้กับคนในครอบครัว

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ยี่ห้อไหนดี

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ยี่ห้อไหนดี

ประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ให้ใช้ในเด็ก 12 ปีขึ้นไป เฉพาะชนิด mRNA โดยมี 2 ยี่ห้อ คือ ไฟเซอร์ (Pfizer) และโมเดอร์นา (Moderna)

โดยวัคซีนโควิด-19 ชนิดนี้ เป็นเทคโนโลยีใหม่ เริ่มใช้มาประมาณ 1 ปี ยังไม่ทราบถึงผลการติดตามในระยะยาว แต่หากผู้ปกครองประสงค์ให้เด็กรับวัคซีนชนิดนี้สามารถเข้ารับได้ในช่วงเดือน ต.ค.2564

ขณะที่วัคซีนโควิด-19 ชนิดอื่น ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยสำหรับใช้ในเด็ก โดยเฉพาะชนิดเชื้อตาย ทั้งซิโนแวคและซิโนฟาร์ม ซึ่งต้องรอจนกว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะพิจารณาอนุมัติ และคณะกรรมการวิชาการพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถนำมาฉีดให้กับเด็กได้

หากลูกอยู่ในกลุ่มที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แล้ว จะฉีดวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อไหนดี ควรต้องพิจารณาจาก 3 มิติด้วยกัน คือ

1. มิติผลข้างเคียง

วัคซีนเทคโนโลยี mRNA เป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังไม่เคยผลิตเป็นวัคซีนและฉีดให้เด็กและเยาวชนมาก่อน และเริ่มพบมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็ก

และเยาวชนชายพอสมควร โดยพบประมาณ 5 รายใน 1 ล้านโดส ส่วนวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย ได้เคยผลิตวัคซีน แล้วนำมาฉีดในเด็กและเยาวชน

มาหลาย 10 ปีแล้ว จึงมีความสบายใจได้ในแง่ผลข้างเคียง

2. มิติประสิทธิผล

วัคซีนเทคโนโลยี m RNA มีประสิทธิผลสูงกว่าเทคโนโลยีเชื้อตาย

3. มิติการเจ็บป่วยจากโควิด

วัคซีนในเด็กและเยาวชน เมื่อติดโควิดแล้วมักจะไม่ค่อยแสดงอาการ ในรายที่แสดงอาการ จะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง 

และมีจำนวนป่วยหนักและเสียชีวิตค่อนข้างน้อย

จาก 3 มิติดังกล่าวข้างต้น คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองจึงต้องชั่งใจว่า จะฉีดวัคซีนให้บุตรหลานตนเองหรือไม่ อย่างไร และจะฉีดด้วยวัคซีนอะไรดี

ฉีดวัคซีน mRNA ปลอดภัยหรือไม่ ?

การฉีดวัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง และมีประโยชน์กับเด็กอย่างแน่นอน แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ติดโควิด มักจะไม่ค่อยมีอาการ และโอกาสเสียชีวิตน้อย นอกจากในรายที่มีโรคเรื้อรังร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้น

ฉีดวัคซีน mRNA

หลายประเทศในสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ได้เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนโควิดให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วนในเอเชีย รัฐบาลฮ่องกง

ก็มีเริ่มฉีดวัคซีนโควิด ให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปแล้วเช่นกัน เหตุผลก็คล้าย ๆ กับในหลายประเทศ เพื่อต้อนรับการเปิดเรียนของเด็ก ๆ ให้พวกเขาได้กลับมา

มีชีวิตปกติ

อาการที่ต้องเฝ้าระวัง หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก

อาการที่ต้องเฝ้าระวัง ที่สงสัยว่าอาจมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

  • แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก

  • หอบ เหนื่อยง่าย

  • ใจสั่น

  • หมดสติ เป็นลม

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ที่เกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เองใน 3-4 วัน 

ส่วนอาการอื่น ๆ ต้องติดตาม 30 วันหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 และข้อปฏิบัติภายใน 7 วันหลังฉีด หากมีอาการข้างเคียงให้แจ้งผู้ปกครอง และรีบไป

โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที และแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบว่าได้รับวัคซีนในวัน-เวลาใด นอกจากนั้นไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนักหลังฉีดวัคซีน

เด็กที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ดูแลตัวเองย่างไร ?

เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 ในเด็กยังคงอยู่ระหว่างการศึกษาอย่างละเอียด การป้องกันการติดเชื้อในเด็กจึงเกี่ยวข้องกับผู้ปกครองโดยตรง 

เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อสู่เด็ก ผู้ปกครองควรเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ให้ครบโดส และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของเด็ก ได้แก่

1. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงการติดเชื้อ

ผู้ปกครองไม่พาเด็กเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ชุมชนแออัด สวมหน้ากากอนามัย และให้ล้างมือบ่อย ๆ หลังสัมผัสกับวัตถุ

2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

การส่งเสริมสุขภาพให้เด็กอย่างเหมาะสมทั้งเวลาการพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ 

เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญ

3. ฉีดวัคซีนอื่นเสริมการป้องกันทางอ้อม

ควรให้เด็กเข้ารับวัคซีนตามกำหนดของช่วงอายุ ร่วมกับวัคซีนที่มีส่วนช่วยลดผลข้างเคียงเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 

และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ (IPD)

 

สรุป

การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก อายุ 12 ปีขึ้นไป การฉีดวัคซีนให้เด็กจะเป็นไปตามความสมัครใจ ที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อน
โดยวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ลดความรุนแรงกรณีติดเชื้อโควิด-19 และลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โดยปัจจุบันวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติ

จาก อย. มี 2 ยี่ห้อคือ ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา และที่รอการอนุมัติ คือ ซิโนแวค และชิโนฟาร์ม จะฉีดยี่ห้อไหนต้องพิจารณาหลายมิติทั้งผลข้างเคียง 

ประสิทธิผลและโอกาสเจ็บป่วย

ทั้งนี้ วัคซีนถือเป็นเครื่องมือในการป้องกันโรคที่มีประสิทธิผล และหลายประเทศทั่วโลกได้มีเริ่มมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก เช่นเดียวกับประเทศไทย อย่างไรก็ดี ยังคงต้องเฝ้าระวังอาการข้างเคียงหลังฉีดและผลในระยะยาวต่อไป โดยหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก ยังคงต้องป้องกันตนเอง 

สวมหน้ากากอนามัยและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมทั้งฉีดวัคซีนโรคทางระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ เพื่อช่วยลดผลข้างเคียงกรณีติดเชื้อโควิด-19

บทความทางการแพทย์