ฝุ่น PM2.5 ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ฝุ่น PM2.5 ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
ในยุคปัจจุบัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือที่เรียกกันว่า PM2.5 ได้กลายเป็นปัญหาด้านมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งและฤดูหนาวที่ปริมาณฝุ่นสะสมในอากาศเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
PM2.5 คืออะไร และทำไมถึงอันตราย?
PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (เล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ประมาณ 20 เท่า) ฝุ่นชนิดนี้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น
- โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและหอบหืด
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด
- ผลกระทบระยะยาว เช่น ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2019 มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกประมาณ 7 ล้านคน โดย PM2.5 เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงเหล่านี้
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5
- ไฟป่า การเผาขยะ การเผาเพื่อทำการเกษตรในที่โล่ง เช่น การเผาไร่อ้อย เผาวัชพืชต่าง ๆ
- ควันที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ และฝุ่นจากการก่อสร้างอาคารและถนน
- การขนส่งและคมนาคม เช่น ควันจากท่อไอเสีย การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
- การผลิตไฟฟ้า เช่น การเผาปิโตรเลียมและถ่านหิน
- กิจวัตรต่าง ๆ ของคน เช่น สูบบุหรี่ การจุดธูปเทียน เผากระดาษ การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร
ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย
สถานการณ์ PM2.5 ในประเทศไทย
จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department) พบว่าในปี 2566 หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีค่าฝุ่น PM2.5 สูงเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะในช่วงเช้าและเย็นที่มีการจราจรหนาแน่นและการเผาในที่โล่งในพื้นที่เกษตรกรรม
ใครบ้างที่เสี่ยง ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5
- เด็ก มีภูมิคุ้มกันต่ำและร่างกายยังอยู่ในระยะพัฒนา การสูดฝุ่น 5 จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ การพัฒนาของปอด และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง
- หญิงมีครรภ์ ฝุ่น 5 ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ แต่ยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วย โดยอาจทำให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแท้ง และเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์
- ผู้สูงอายุ ระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของผู้สูงอายุเริ่มเสื่อมลง การสัมผัสฝุ่น 5 อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ผู้ป่วยโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคปอด หรือโรคหัวใจ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากการสัมผัสฝุ่น 5 สามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบ และอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตหรือเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันตนเองจาก PM2.5
- สวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพ เลือกใช้หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น 5 ได้ เช่น หน้ากาก N95 หรือ KF94 ซึ่งมีความสามารถในการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ในวันที่ค่าฝุ่นสูง ควรลดเวลาการออกนอกบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุ หากจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ ตรวจสอบค่าฝุ่น 5 ในพื้นที่ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ เช่น Air4Thai หรือ IQAir เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวัน
- ใช้เครื่องฟอกอากาศในบ้าน เลือกใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA (High Efficiency Particulate Air) เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นภายในบ้าน
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน