ตอบข้อสงสัยการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก อันตรายหรือไม่ จะมีลูกได้ไหม?

โรคมะเร็งปากมดลูก(Cervical Cancer) ถือเป็นเนื้องอกชนิดร้ายของปากมดลูกที่จำเป็นต้องรีบทำการผ่าตัดรักษา โดยมีสาเหตุมาจาก เชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus ซึ่งติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ช่องทางหลักคือการมีเพศสัมพันธ์

จากสถิติของ WHO มีผู้ป่วยรายใหม่ของประเทศไทยต่อปีประมาณ 8,184 ราย และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงคือราว 4,513 รายต่อปี หรือคิดเป็นวันละ 12 ราย เมื่อมีการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกและมีการยืนยันผล การตรวจเนื้อทางพยาธิวิทยา แพทย์จะวางแผนในการรักษา “ผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก” เพื่อลดความเสี่ยงต่อการลุกลามและลดโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วย

สารบัญ ผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก

1. มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
2. ผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก
3. วิธีการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก
4. หลังผ่าตัดดูแลตัวเองอย่างไร
5. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?

ปากมดลูกคือ ส่วนของอวัยวะสืบพันธ์เพศหญิงที่จากมดลูก ในช่องท้อง โผลยื่นออกในช่องคลอด ปากมดลูกเป็นอวัยวะที่สำคัญในการเเป็นทางผ่านของเลือดประจำเดือน ซึ่งมาจากมดลูกและออกมาภายในนอกผ่านช่องคลอด ขณะเดียวกัน ขณะมีเพศสัมพันธ์น้ำอสุจิจะไปอยู่ในช่องคลอดเข้าไปสู่มดลูกทางปากมดลูกด้วย เมื่อเกิดการปฏิสนธิกับไข่ ก็จะทำให้เกิดทารก และอาศัยในโพรงมดลูก และคลอดออกมาทางช่องคลอดเมื่อครบกำหนดนั้นเอง

แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดความเสี่ยงจากการรับเชื้อ ฮิวแมนแป๊ปปิโลม่าไวรัส (Human papilloma virus = HPV) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เชื้อเอชพีวี (HPV) ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ก็จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก ร่วมถึงโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ เช่น หูดหงอนไก่ เป็นต้น

ปัจจุบันสามารถการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนที่จะมีอาการ เป็นการตรวจหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็งและมะเร็งระยะเริ่มแรกได้

ผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก จะรักษาตามระยะของโรค ซึ่งแต่ละระยะแพทย์จะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์และให้ผลลัพธ์ที่ดีสำหรับคนไข้ โดยระยะที่ 1 จะมีการรักษาที่เป็นมาตรฐานอยู่ 2 วิธี ดังนี้

  • การรักษาโดยการผ่าตัด มะเร็งปากมดลูกระยะต้น แพทย์อาจใช้การผ่าตัด ซึ่งผลการรักษาดีมากโอกาสหายสูงมาก ซึ่งมีการผ่าตัดทั้งแบบตัดออกทั้งหมด มีการตัดมดลูกออกแบบถอนรากถอนโคน และมีการตัดเนื้อเยื่อรอบตัวมดลูกออกด้วย ส่วนจะตัดรังไข่ออกร่วมด้วยหรือไม่ แพทยย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป โดยอาจจะพิจารณาจากอายุ ว่ายังจำเป็นต้องการฮอร์โมนจากรังไข่หรือไม่ นอกจากนี้การผ่าตัดยังมีการเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออกด้วย ซึ่งการผ่าตัดรักษาลักษณะนี้จะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้ ประมาณมากกว่า 80% ลดความเสี่ยงอื่นที่อาจจะตามาได้มาก

ข้อควรรู้ : สำหรับใครที่กลัวผ่าตัด และมีความเชื่อว่าการผ่าตัดทำให้มะเร็งกระจาย ในกรณีไม่เป็นความจริง การตรวจพบโรคได้เร็วและผ่าตัดออกตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ลดการสูญเสียชีวิตได้

  • การรักษาโดยรังสีรักษา และยาเคมีบำบัด การรักษาวิธีนี้ได้ผลการหายใกล้เคียงกับการรักษาด้วยการผ่าตัด แต่จะเหมาะสมในบางเคสเท่านั้น จำเป็นต้องแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสมและความปลอดภัย โดยส่วนใหญ่แพทย์มักแนะนำให้รับการรักษาวิธีนี้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการรักษาโดยการผ่าตัดสูง หรือผู้ป่วยที่อายุมาก ๆ

วิธีการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก

วิธีการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูกปัจจุบันมีหลายวิธี ซึ่งวิธีทั่วไปและยังได้รับความนิยม คือการ การผ่าตัดแบบหน้าท้องแบบปกติ แพทย์จะผ่าเปิดหน้าท้องเพื่อตัดในส่วนเนื้อร้ายออก โดยแผลผ่าตัดที่หน้าท้องจะสมานตัวและกลายเป็นรอยแผลเป็นเล็กน้อยในภายหลัง

นอกจากนี้ยังมีการผ่าตัดแบบผ่านทางช่องคลอด และการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งช่วยทำให้มีขนาดแผลที่เล็กลงและไม่มีเลย แต่อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

หลังผ่าตัดดูแลตัวเองอย่างไร?

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นลง คนไข้ต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลระยะหนึ่ง เฉลี่ย 3-5 วัน ก่อนกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน ซึ่งหลังจากการรักษาแล้วแพทย์จะนัดตรวจติดตามผลเป็นระยะ ๆ โดยในช่วง 2 ปีแรก จะนัดตรวจประมาณ 3 – 4 เดือนครั้ง หลังจากนั้นจะนัดตรวจ 6 เดือนครั้ง อย่างน้อยเป็นเวลา 5 ปี

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก หรือระยะก่อนมะเร็งปากมดลูก มักจะไม่มีอาการผิดปกติ การจะรู้ได้ว่าเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจรวจคัดกรอง แนะนำตรวตคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี (IPD)

Q : มีตกขาวผิดปกติจากช่องคลอดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือไม่

อาการมีตกขาวผิดปกติจากช่องคลอด หรือในบางรายมีมีเลือดออกกระปริดกระปรอยขณะที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน อาการเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับมะเร็งปากมดลูกหรือไม่อาจไม่เกี่ยวข้องก็ได้ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เพื่อความมั่นใจและบอกผลได้ถูกต้อง แนะนำให้เข้าพบสูตินรีแพทย์

สรุป

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่รักษาได้ ดังนั้นเมื่อตรวจพบควรรีบเข้ารีบการรักษาทันที ก่อนที่มะเร็งจะลูกลามมากขึ้น รวมถึงมะะเร็งปากมดลูกยังเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ ด้วยการตรวจคัดกรองเป็นระยะ ๆ และปัจจุบันนี้มีวัคซีนซึ่งช่วยป้องกันได้อย่ างน้อย 70% จึงช่วยให้การป้องกันโรคนี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บทความทางการแพทย์