ตรวจมะเร็งปากมดลูกสำคัญยังไง มีกี่วิธี แต่ละวิธีมีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง

โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งปี 2562 ประมาณการจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ราว 5,500 คน หรือคิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดโรค 9.3 คนต่อประชากรแสนคน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,200 คน ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย แต่สามารถป้องกันได้ หากได้รับการตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีนอย่างถูกต้อง

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหลายวิธี ในบทความจะแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ว่ามีวิธีตรวจคัดกรองกี่รูปแบบ ขั้นตอนการเตรียมตัว พร้อมแนวทางป้องกันที่ต้นเหตุ เพื่อให้ผู้หญิงไทยห่างไกลโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก?

แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นโรคมะเร็งที่หลาย ๆ คนรู้สึกกังวล แต่มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคมะเร็งที่สามารถทราบสาเหตุการเกิดโรคและหากรู้ผลรวดเร็ว แม่นยำ ก็จะสามารถป้องกันและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันก็มีวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้หลากหลายวิธี ดังนั้น การตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคืออะไร?

การตรวจมะเร็งปากมดลูก คือ การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนที่จะเกิดความผิดปกติแสดงอาการ เป็นวิธีการตรวจเพื่อหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถป้องกันและรักษามะเร็งระยะเริ่มแรกอย่างได้ผล ทั้งนี้มะเร็งปากมดลูก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะเริ่มต้น สามารถตรวจมะเร็งปากมดลูกทราบได้ โดยที่คนไข้ยังไม่มีอาการ
  • ระยะท้าย คนไข้เริ่มมีอาการแสดง เช่นมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีอาการตกขาวเรื้อรัง หรือมีเลือดออกปนตกขาว อาการเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกว่าต้องรีบมาตรวจมะเร็งปากมดลูก เพราะถ้ามีอาการเหล่านี้แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ จนมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด จะเป็นลักษณะอาการที่เชื้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ยากต่อการรักษาและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีกี่แบบ?

ปัจจุบันมีการตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่ 3 วิธี ได้แก่

  • Pap smear (ตรวจแปปเสมียร์)
  • เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายไม้พาย เก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนนำส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน

  • Thin prep (ตินเพร็พ)
  • เป็นวิธีที่มีการพัฒนามาจากการตรวจแบบ Pap Smear ซึ่งมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น โดยมีข้อมูลการศึกษาวิจัยจากสถาบันทั่วโลกพบว่า จากการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Thin prep จะให้ผลละเอียดกว่าการตรวจด้วยวิธีเก่าอย่างการตรวจแบบ Pap Smear

    วิธีนี้สูตินรีแพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กเก็บเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก ถอดหัวของแปรงใส่ลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ ซึ่งจะก่อให้ได้ตัวอย่างเซลล์ครบ จากนั้น นำเข้าเครื่องอัตโนมัติในการเตรียมเซลล์บนสไลด์แก้ว เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนของมูก เซลล์เม็ดเลือด หรือลดการซ้อนทับกันของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไป ทำให้เพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น

  • Thin prep plus HPV DNA
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ด้วย Thin Prep Plus Cervista HPV DNA Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก ร่วมกับตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถตรวจพบความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ดีกว่าการตรวจ Pap smear อย่างเดียว เพราะสามารถเจาะลึกว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ ช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝงได้เป็นอย่างดี

    โปรโมชันแนะนำโรงพยาบาลพีเอ็มจี

    • โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Papsmear 890.-

    • โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Thin prep 1,990.-

    • โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก Thin prep plus HPV DNA 2,900.-

    ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก?

    สมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำแนวทางผู้ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนี้

    • สตรีทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี

    • สตรีที่แต่งงานเมื่ออายุน้อย

    • สตรีที่คลอดบุตรหลายคน

    • สตรีที่มีคู่นอนหลายคน เป็นกามโรคบ่อย ๆ

    • มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก

    ทั้งนี้สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป หากผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกมีผลออกมาเป็นปกติ 3 ปีติดต่อกัน และไม่มีผลการตรวจที่ผิดปกติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และไม่มีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก อาจยกเลิกการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้

    เตรียมตัวก่อนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

    • ควรนัดตรวจมะเร็งปากมดลูก ในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
    • ห้ามสวนล้างช่องคลอด ก่อนการตรวจ
    • ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิ ในช่องคลอดก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
    • งดมีเพศสัมพันธ์ ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง

    Q&A คำถามที่พบบ่อย

    Q : การตรวจมะเร็งปากมดลูก ใช้ระยะเวลานานไหม ถึงรู้ผล?

    A : ใช้เวลาตรวจโดยประมาณ 15-20 นาที สามารถทราบผลภายใน 3 อาทิตย์ข้างหลังวันเก็บตัวอย่างเซลล์

    Q : หากเคยฉีดวัคซีน HPV มาแล้ว จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?

    A : แนะนำให้เข้ารับการตรวจ เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถคุ้มครองป้องกันเชื้อไวรัส HPV ที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูกได้ทุกสายพันธุ์

    Q : การตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV DNA เจ็บไหม?

    A : ในขณะที่ตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV DNA คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บ โดยแพทย์จะใช้ไม้ขนาดเล็กที่มีหัวแปรงเข้าไปเก็บตัวอย่างบริเวณปากมดลูก และเก็บตัวอย่างเซลล์ที่ได้มาในน้ำยา เพื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ ใช้เวลาเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น

    สรุปบทความ

    การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นวิธีที่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนควรดูแลสุขอนามัย มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย รวมถึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากโรคมะเร็งร้ายนี้อย่างแน่นอน

    สำหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่ PMG HOSPITAL เราพร้อมให้การดูแลคุณด้วยความใส่ใจ โดยคุณสามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางดังนี้

    บทความทางการแพทย์